เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [2.สามัญญผลสูตร] ผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ได้ข้อที่ 1

แห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มีหรือ ฯลฯ ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วมีและไม่มีหรือ
ฯลฯ ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วจะว่ามีก็มิใช่ จะว่าไม่มีก็มิใช่หรือ ฯลฯ หลังจาก
ตายแล้ว ตถาคต1 เกิดอีกหรือ ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ ฯลฯ
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ ฯลฯ หลังจากตายแล้ว ตถาคต
จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ หากอาตมภาพมีความเห็นว่า หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ก็จะทูลตอบว่า หลัง
จากตายแล้ว ตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ แต่อาตมภาพมีความ
เห็นว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ จะว่าไม่ใช่ก็มิใช่ จะว่ามิใช่ไม่ใช่
ก็มิใช่ ’
[181] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันถามถึงผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็น
ประจักษ์ แต่ครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร กลับตอบหลบเลี่ยง เปรียบเหมือนเขาถามเรื่อง
มะม่วงกลับตอบเรื่องขนุนสำปะลอ หรือเขาถามเรื่องขนุนสำปะลอกลับตอบเรื่อง
มะม่วง หม่อมฉันจึงคิดว่า คนระดับเราจะรุกรานสมณพราหมณ์ผู้อยู่ในราชอาณา-
เขตได้อย่างไรกัน หม่อมฉันจึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิคำกล่าวของครูสัญชัย เวลัฏฐบุตร
ถึงไม่ชื่นชมไม่ตำหนิ แต่ก็ไม่พอใจ และไม่เปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจออกมา เมื่อ
ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจคำกล่าวนั้น ก็ได้ลุกจากที่นั่งจากไป

ผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ได้ข้อที่ 1

[182] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอทูลถามพระองค์ว่า อาชีพที่อาศัย
ศิลปะมากมายเหล่านี้ คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู พนักงานเชิญธง พนัก
งานจัดกระบวนทัพ พวกจัดส่งเสบียง ราชนิกุลผู้ทรงเป็นนายทหารระดับสูง พล
อาสา ขุนพล พลกล้า พลสวมเกราะ พวกทาสเรือนเบี้ย พวกทำขนม ช่างกัลบก
พนักงานเครื่องสรง พวกพ่อครัว ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างหูก ช่างจักสาน ช่าง
หม้อ นักคำนวณ นักบัญชี หรืออาชีพที่อาศัยศิลปะอย่างอื่นทำนองนี้ คนเหล่านั้น

เชิงอรรถ :
1 ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึง อัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระ
พุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึง สัตตะ (ที.สี.อ. 65/108)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :60 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [2.สามัญญผลสูตร] ผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ได้ข้อที่ 1

ได้รับผลจากอาชีพที่อาศัยศิลปะที่เห็นประจักษ์มาเลี้ยงชีพในปัจจุบัน จึงบำรุงตนเอง
บิดามารดา บุตรภรรยา มิตรสหายให้เป็นสุข บำเพ็ญทักษิณาในสมณพราหมณ์ซึ่ง
มีผลมากเป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดีมีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์ พระองค์จะทรง
บัญญัติผลแห่งความเป็นสมณะที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบันได้เช่นนั้นบ้างหรือไม่
พระพุทธเจ้าข้า”1
[183] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “บัญญัติได้ มหาบพิตร แต่ในเรื่องนี้
อาตมภาพขอย้อนถามพระองค์ก่อน โปรดตอบตามพอพระทัย พระองค์ทรงเข้า
พระทัยเรื่องนี้ว่าอย่างไร คือ สมมติว่าพระองค์มีบุรุษทาสกรรมกรผู้ตื่นก่อน นอน
ทีหลัง เฝ้ารับพระบัญชาตามรับสั่ง คอยประพฤติให้ถูกพระทัย ต้องเพ็ดทูลอย่าง
ไพเราะ คอยสังเกตพระพักตร์ เขาคิดว่า น่าอัศจรรย์ผลบุญนัก แท้จริง พระเจ้า
อชาตศัตรู เวเทหิบุตร พระองค์นี้ทรงเป็นมนุษย์ แม้เราก็เป็นมนุษย์ แต่พระองค์ทรง
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 ดุจเทพเจ้า ส่วนเราเป็นทาสกรรมกรของพระองค์
ต้องตื่นก่อน นอนทีหลัง เฝ้ารับพระบัญชาตามรับสั่ง คอยประพฤติให้ถูกพระทัย
ต้องเพ็ดทูลอย่างไพเราะ คอยสังเกตพระพักตร์ เราควรทำบุญไว้จะได้เป็นเหมือน
พระองค์ท่าน ทางที่ดีเราพึงโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนไป
บวชเป็นบรรพชิต
ต่อมา เขาโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนไปบวชเป็น
บรรพชิต เมื่อบวชแล้วเป็นผู้สำรวมกาย วาจา ใจ อยู่สันโดษด้วยอาหารพอประทัง
ความหิวและผ้าพอคุ้มกาย ยินดียิ่งในความสงัด ถ้าราชบุรุษกราบทูลพฤติการณ์
ของเขาอย่างนี้ว่า ‘ขอเดชะ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า บุรุษผู้เคยเป็นทาสกรรมกร
ของพระองค์ที่ต้องตื่นก่อน นอนทีหลัง เฝ้ารับพระบัญชาตามรับสั่ง คอยประพฤติให้
ถูกพระทัย ต้องเพ็ดทูลอย่างไพเราะ คอยสังเกตพระพักตร์อยู่นั้น (บัดนี้) เขาโกนผม
และหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว
เป็นผู้สำรวมกาย วาจา ใจ อยู่สันโดษด้วยอาหารพอประทังความหิวและผ้าพอ

เชิงอรรถ :
1 คำถามประเด็นนี้ คือ ชาวโลกครองชีวิตอยู่เพราะมีวิชาชีพ สมณคุณมีประโยชน์ที่มองเห็นได้ชัดเจนเหมือน
วิชาชีพต่าง ๆ บ้างหรือไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :61 }